ในช่วงหลายปีหลัง เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่คนไทยเดินทางไปมากที่สุดทั้งในฐานะนักท่องเที่ยวและไปทำงาน ในส่วนของการทำงานมีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เราเรียกแรงงานที่ลักลอบเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมายกันว่า ผีน้อย
ข้อมูลนี้เผยให้เห็นว่าคนไทยที่พำนักผิดกฎหมายนั้นมีสัดส่วนมากกว่า 75% ของคนไทยในเกาหลี และคิดเป็นกว่า 7% ของคนต่างชาติในเกาหลีทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ปัญหาส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงถึงระบบด้วย
แรงงานไทย ไปเกาหลีได้อย่างไร: รู้จักระบบ EPS
ระบบ EPS หรือ Employment Permit System เป็นระบบการส่งแรงงานไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของประเทศต้นทางและเกาหลีใต้ ระบบนี้เป็นระบบที่รัฐบาลเกาหลีพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2004 เพื่อแก้ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากนายหน้าจัดหางาน ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเก็บค่าธรรมเนียมในราคาที่ไม่เป็นธรรม และเพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในเกาหลีใต้
ปัจจุบันมี 16 ประเทศต้นทางเข้าร่วมในการส่งแรงงานผ่านระบบ EPS ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ศรีลังกา มองโกเลีย จีน กัมพูชา อุซเบกิสถาน ปากีสถาน เนปาล คีร์กิซสถาน บังกลาเทศ พม่า ติมอร์ตะวันออก และลาว
ผีน้อย คือใคร
คำว่า ‘คนผี’ เป็นคำเรียกทั่วไประหว่างคนไทยกันเองที่ทำงานอยู่ในเกาหลีใต้ โดยเป็นการระบุสถานะทางกฎหมายของแรงงาน ‘คนผี’ ในที่นี้คือแรงงานที่เดินทางเข้าประเทศเกาหลีในฐานะนักท่องเที่ยวและลักลอบทำงานนอกระบบ EPS หรือแรงงานผิดกฎหมาย ส่วน ‘คนวี’ หมายถึงคนที่มีวีซ่าทำงาน หรือคนที่เดินทางไปทำงานในเกาหลีผ่านระบบ EPS นั่นเอง
สุริยา สมุทคุปติ์ ได้เขียนบันทึกงานวิจัยจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในประเทศเกาหลีใต้ว่า ‘คนผี’ ไม่ได้มีเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแรงงานต่างชาติอื่นๆ ด้วย เช่น เวียดนาม จีน ที่เดินทางไปทำงานในประเทศเกาหลีในช่องทางที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในการจ้างงานอย่างถูกกฎหมายของเกาหลีได้
บันทึกของ สุริยา สมุทคุปติ์ ได้บรรยายถึงการดำรงชีวิตของแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีในแต่ละวันว่าต้องเผชิญกับความเป็นอยู่ที่ยากลำบากและความเสี่ยงที่จะถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับและส่งกลับประเทศ นอกจากนี้ ยังเผยถึงวิธีก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ในการทำงาน การใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว และความห่างไกลจากครอบครัว เช่น การสร้างชุมชนแรงงานเพื่อทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมและการสังสรรค์ร่วมกันในเวลาว่าง (Samutkupt S., 2014) สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลี ความเป็นอยู่ การทำงาน และการใช้ชีวิตในชุมชนแรงงานต่างชาติขนาดย่อมๆ ที่ถูกตัดขาดจากสังคมเกาหลีโดยรวม เป็นกลุ่มคนที่ ‘ไม่สามารถถูกมองเห็นได้’ (invisible) จึงเป็น ‘คนผี’ และภายหลังถูกเรียกให้มีความน่ากลัวน้อยลง จึงเรียกว่า ‘ผีน้อย’ ในบางบริบท
ความเป็นอยู่ของผีน้อย มีหลายรูปแบบ
รายได้ที่สูงกว่าเมืองไทยหลายเท่าตัว ยังคงดึงดูดให้คนไทย พาตัวเองไปเสี่ยงลักลอบเข้าไปเป็นแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ ภาพชีวิตประจำวันของผีน้อยที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย อาหารการกิน ที่อยู่อาศัยที่ดูเหมือนว่าพออยู่ได้ แต่แรงงานไทยหลายคน ต่างบอกว่า แล้วแต่ว่าพวกเขาจะได้ “เถ้าแก่” หรือนายจ้างที่ดีหรือไม่ดีเท่านั้น
ผีน้อย : กระจกสะท้อนข้อจำกัดของ EPS
ในความเข้าใจของคนทั่วไป ผีน้อยคือคนที่เดินทางไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้อย่างไม่ถูกกฎหมาย โดยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
ประเภทแรก ผีน้อยที่ ‘เวอร์วี’ มาจากคำว่า Overstay Visa หมายถึงคนที่เดินทางไปเกาหลีแล้วอยู่เกินกำหนดอนุญาตให้ท่องเที่ยว 90 วัน
อีกประเภทคือแรงงานที่ ‘ไปๆ มาๆ’ เดินทางไปเกาหลีในฐานะนักท่องเที่ยวแต่ลักลอบทำงานในเกาหลีและเดินทางกลับก่อนกำหนด 90 วันจะหมดอายุ
แรงงานนอกระบบ EPS หรือ ‘ผีน้อย’ ไม่ได้มีแค่คนที่ไปแบบนักท่องเที่ยว และไปหางานทำที่เกาหลีเท่านั้น แต่ยังมีผีน้อยแบบที่สาม คือแรงงานที่ ‘โดดแทรค’ หรือแรงงานหลุดออกจากระบบ EPS ไปเป็นคนผี รวมถึงคนที่สัญญาหมดอายุแล้วแต่ยังอยากทำงานที่เกาหลีต่อไปด้วย
ทำอย่างไรให้ผีน้อยกลายเป็นคน
จะเห็นได้ว่าข้อจำกัดของระบบ EPS มีตั้งแต่ขั้นตอนการจัดส่งและเมื่อแรงงานไทยเดินทางไปถึงประเทศเกาหลีใต้แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดส่งแรงงานไทยต่างทราบดีถึงข้อจำกัดเหล่านี้ แต่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับรัฐบาลเกาหลีว่าจะดำเนินการอย่างไร เนื่องจากระบบ EPS และเงื่อนไขต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ ในการแก้ไขปัญหาที่ระบุมานั้น ผู้เขียนและทีมนักวิจัยจึงมีข้อเสนอให้มีการจัดเวทีพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงตัวแทนแรงงานไทยที่ทำงานในเกาหลีใต้ เพื่อถอดบทเรียนและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากแรงงานไทยในเกาหลีส่วนใหญ่ระบุว่า เหตุผลหลักที่ต้องไปทำงานที่เกาหลีคือปัจจัยเรื่องเงิน ดังนั้นในระยะยาว ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งในการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงการให้ความรู้ในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน การเข้าถึงตลาดสินค้าในการกระจายสินค้าและผลผลิต ตลาดทุนในการเข้าถึงเงินกู้เพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศหรือเพื่อการประกอบกิจการส่วนตัวในอัตราดอกเบี้ยที่สมเหตุสมผล สร้างตลาดแรงงานที่จ่ายค่าแรงอย่างเป็นธรรมและเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การค้นพบที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับจีโนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สาเหตุและวิธีป้องกันจาก โรคผิวหนัง
ทำยังไง เมื่อน้องหมาเบื่ออาหาร
การดึงความสนใจจากผู้ชมอาจเป็นเรื่องยาก
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://sinemagija.com/
สนับสนุนโดย ufabet369
ที่มา www.the101.world